Tue. Apr 2nd, 2024
ระบบเซนเซอร์อัจฉริยะ

            ระบบเซนเซอร์อัจฉริยะ จากคำนิยามขององค์การสหประชาชาติ เวลานี้ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ หมายความว่า เรากำลังจะมีคนที่มีอายุเกิน 60 ปีถึงร้อยละ 20 ของประชากรไทยทั้งประเทศ ในปี 2564 โดยที่เป็นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมก่อนหน้านี้  

ระบบเซนเซอร์อัจฉริยะผู้สูงอายุ

ระบบเซนเซอร์อัจฉริยะ วัดการเคลื่อนไหวที่มีขนาดเล็กสำหรับพกติดตัวผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ

            นักวิจัยคนหนึ่งที่มองเห็นปัญหาและเตรียมหาทางรับมือกับภาวะดังกล่าวก็คือ ผศ. ดร.สุรภา  เทียมจรัส จากทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ก่อนหน้านั้นในปี 2545 เธอคือผู้ที่ได้รับทุนจากมูลนิธิอานันทมหิดลเพื่อศึกษาต่อปริญญาเอกในด้านเทคโนโลยีโครงข่ายเซนเซอร์ร่างกาย ที่ Imperial College London สหราชอาณาจักร  

            เมื่อกลับมาเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาไทย จึงได้นำความรู้เรื่องเทคโนโลยีนี้มาถ่ายทอดเพื่อหวังให้นักศึกษารู้จักการต่อยอดจากเทคโนโลยีแทนการซื้อเทคโนโลยีสำเร็จจากต่างชาติซึ่งอาจไม่เหมาะกับบ้านเรา พร้อมกับทำงานวิจัยแบบประยุกต์โดยยึดประโยชน์ของผู้ใช้งานเป็นหลัก และในที่สุดก็ค้นพบว่าเทคโนโลยีโครงข่ายเซนเซอร์ร่างกายนี้นำมาประยุกต์ใช้เพื่อตรวจจับการล้มของคนได้ค่อนข้างแม่นยำ เธอจึงเบนเข็มเป็นนักวิจัยที่ สวทช.เต็มตัว

ระบบเซนเซอร์อัจฉริยะ

            ผศ. ดร.สุรภาได้ศึกษาความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุจนได้ข้อสรุปว่า คนกลุ่มนี้ต้องการอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันก่อนเกิดเหตุมากกว่าการเตือนเมื่อเกิดเหตุแล้ว จากนั้นจึงได้เก็บข้อมูลเรื่องท่าทางการหกล้ม และอิริยาบถต่างๆ ของผู้สูงอายุ แถมยังใช้ตนเองเป็นหุ่นทดลอง “หกล้ม” ด้วย เพื่อออกแบบอุปกรณ์และระบบช่วยป้องกันและเฝ้าระวังรวมถึงแก้ไขปัญหาแผลกดทับหรือการลื่นล้มของผู้สูงอายุที่พบบ่อย

            อุปกรณ์เซนเซอร์วัดการเคลื่อนไหวนี้มีขนาดเล็กสำหรับพกติดตัวผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ สามารถตรวจวัดท่าทาง อิริยาบถต่างๆ เพื่อประมวลผลว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ หากมีความเสี่ยง ระบบจะทำงานเชื่อมต่อกับตัวรับสัญญาณและเซิร์ฟเวอร์เพื่อเตือนผู้ดูแลได้ทันท่วงที นอกจากนั้น ยังร่วมมือกับโรงพยาบาลเพื่อทดลองใช้อุปกรณ์นี้กับผู้ป่วยในห้องไอซียู โดยสามารถแจ้งเตือนเวลาและองศาที่เหมาะในการช่วยให้พยาบาลสามารถช่วยเหลือในการพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงได้อีกด้วย ซึ่งผลวิจัยในต่างประเทศได้รับรองแล้วว่าช่วยลดการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยได้

ระบบเซนเซอร์

            ผศ. ดร.สุรภาบอกว่า จะทดลองใช้อุปกรณ์นี้กับพยาบาลในโรงพยาบาลก่อน จากนั้นค่อยพัฒนาสำหรับใช้ในบ้าน ซึ่งอาจส่งสัญญาณเตือนเข้าโทรศัพท์ และบันทึกข้อมูลไว้ดูย้อนหลังด้วย และสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม เทคโนโลยีนี้ยังได้ช่วยยืนยันว่าการพกอุปกรณ์นี้ไว้กับตัวผู้ป่วยถือว่าช่วยเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อการวิเคราะห์โรคได้อย่างดี เช่น การนอนหลับ อาการว้าวุ่นหรือเฉื่อยชา ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่น่าชื่นใจจากนักวิจัยไทยเพื่อผู้สูงอายุชาวไทย

แหล่งข้อมูล https://www.nstda.or.th/sci2pub/body-sensor-network/

ภาพประกอบจาก https://www.nstda.or.th/sci2pub/body-sensor-network/

และ  www.pixabay.com

ติดตามข่าวสารอื่น ๆ อีกมากมาย ข่าวสารวงการไอที ได้ที่นี่ และ Sony เปิดตัวราคา PlayStation 5 เครื่องเล่นเกมคอนโซล รุ่นล่าสุดคาดว่า จะมียอดขายเป็นที่น่าพอใจ